เปิดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะ

หลักสูตร: บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย SMOHS 19

บริษัทเซฟตี้มาสเตอร์ จำกัด เปิดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย
เน้นเจาะลึกแนวข้อสอบ เพื่อสอบเป็นบุคลากรเฉพาะ ตามหลักสูตร ความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 

ตารางอบรมบุคลากรเฉพาะ

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )

  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

อัตราค่าลงทะเบียน 1,926 บาท/คน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

หมายเหตุ ค่าลงทะเบียนรวมค่าวิทยากร/เอกสารอบรม/วุฒิบัตร/ค่าอาหารกลางวัน /อาหารว่างเช้า-บ่าย

การทำงานในที่อับอากาศ

ที่อับอากาศ

             อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ   ส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิต  คือ  1.การขาดอากาศหายใจ 2. การระเบิด 3. การสูดสารพิษ  ดังนั้นลูกจ้างที่เข้าทำงานในที่อับอากาศ  ควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการทำงานในที่อับอากาศ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

             ที่อับอากาศ หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย   เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ซึ่งอันตรายในที่อับอากาศ    คือ บรรยากาศอันตราย  เรามาดูความหมายของบรรยากาศอันตราย ตามนิยามของกฏหมายครับ 

บรรยากาศอันตราย หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

2. มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากันหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีของแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

หลักการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

1.ตระหนัก  และประเมินถึงอันตรายในที่อับอากาศ  ซึ่งในที่นี่้ คือ บรรยากาศอันตราย รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจทำให้ลูกจ้างเสียชีวิตได้

2. ควบคุมอันตราย  ดังนี้

  • การติดป้าย สถานที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า  รวมถึงป้ายห้าม  ป้ายเตือน ต่างๆ
  • ใบอนุญาตทำงาน (work permit)
  • การระบายอากาศ
  • การตรวจวัดอากาศ
  • การเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตขณะทำงาน  เช่น  รอก  เชือก  ไตรพอด  SCBA
  • แผนฉุกเฉิน  ทีมกู้ภัย

หากท่านสนใจอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สามารถติดต่อได้ที่ อ.ชเยศ (อ.ป๊อบ) 086-757-4837 , 081-5888-972

ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง

หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง

SMOHS 23

1) หลักการและเหตุผล

      กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551  หมวด 11 ว่าด้วย การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทะลายและการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ  กำหนดดังนี้

ข้อ 89 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับลูกจ้างในการทำงานนั้น

ข้อ 90 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกร หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

ข้อ 91 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสถานที่ที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุพังทับ เช่น การทำงานบนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสำหรับเทวัสดุ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

2) วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างและเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานที่สูง

2.2 เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายของการปฏิบัติงานที่สูงและความสำคัญของอุปกรณ์กันตก รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทีสูงและสามารถปฏิบัติงานที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานที่สูง

4)  กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน พนักงานที่ปฎิบัติงานที่สูง

5) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ

      อ.ชเยศ  แก้วลิบ

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

6) กำหนดการฝึกอบรม   

เวลา หัวข้อบรรยาย/อบรม
08.00 – 08.30 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
08.30 -12.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551

-อุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

– แนวทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง

– การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานบนที่สูง

– มาตรการการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

– ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำงานบนที่สูง

– การป้องกันวัสดุตกจากที่สูง

– อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกันการตกจากที่สูง

12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 -16.00 น. – ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานบนที่สูง

– ฝึกปฏิบัติการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harness)

– ฝึกปฏิบัติการปีนขึ้นที่สูง

16.00 -16.30 น. แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

ราคา In house Training    ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

                                                        

หมายเหตุ *** พัก/Break   ช่วงเช้าเวลา 10.30 -10.45 น.   ช่วงบ่าย 14.30-14.45 น.

พักกลางวัน  เวลา 12.00-12.00 น.

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่

หลักสูตร : ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไป

 และลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย  พ.ศ. 2554

SMOHS 13

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานไดอย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาธุรกิจ  การพัฒนาองค์กร  การพัฒนาการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อสู่ความมั่งคั่ง ความก้าวหน้า การเจริญเติบโตแบบมั่นคงและยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศและการขับเคลื่อน แบบประชารัฐ โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน” หรือที่เราเรียกว่าโมเดลประเทศไทย 4.0
การฝึกอบรมลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ให้มีความรู้ (Knowledge) มีความเข้าใจ(Understand) เกิดทักษะ (Skill) และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ(Attitude) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Behavior)ที่ซ่อนอยู่หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบ Tacit Knowledge ให้เปลี่ยนเป็น ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ตนได้สัมผัส ได้รับรู้ ได้พบ ได้เห็น หรือได้รับมอบหมายงานจากหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา   ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  ปัจจุบันส่วนหนึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานพบว่า ลูกจ้างหรือพนักงานไม่เข้าใจคำสั่ง หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงในกระบวนการทำงานจึงก่อให้เกิดความบกพร่องทางด้านกระบวนการคิด และส่งผลกระทบนานัปการกับองค์กร เช่น เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต  ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า เกิดความล่าช้าในการทำงาน ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ทันตามเวลา พนักงานเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน หรือเกิดการรอคอยทำให้สูญเสียเวลา เสียโอกาส  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทั้งลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป เพื่อให้เกิด KUSA  ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) เพิ่ม/ เติมเต็มศักยภาพในการทำงานตาม บทบาทหน้าที่  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับลูกจ้าง     บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด   สามารถที่จะให้คำแนะนำเรื่องดังกล่าวกับสถานประกอบกิจการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติ

วัตถุประสงค์รายวิชา

  1. สร้างความตระหนักให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เห็นถึงความสำคัญกับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเพื่อลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับ คน เครื่องจักร ทรัพย์สินต่างๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้และเข้าใจกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย สามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำองค์ความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางปฏิบัติ

แนวทางการฝึกอบรม

1.กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

ลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป ผู้ควบคุมงานหรือผู้ที่สนใจ

ระยะเวลาในการฝึกอบรม  1  วัน (6 ชั่วโมง)

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.30 น. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
10.35-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-14.30 น. (ต่อ) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในกาiทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.00 น. ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
16.00-16.15 น. ทำแบบทดสอบ Post Test
16.15-16.00 น. กิจกรรมถาม -ตอบ

เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

หลักสูตร: เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

SMOHS 5

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

                ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

                การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

                กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ข้อ 36 พนักงานขับรถยกต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนด

หลักการและเหตุผล

               ในยุคที่มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ (Quality) ต้นทุน/ราคา (Cost & Price) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Delivery on Time) รถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ นับว่าเป็นเครื่องจักรกลที่มีบทบาทมาก สถานประกอบกิจการได้นำเข้ามาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของกันมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรหรือผู้ที่รับผิดชอบในการขับขี่รถยก(Fork Lift) ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) ดังนั้นก่อนที่ผู้ควบคุมงานจะมอบหมายหน้าที่ให้ใครคนใดคนหนึ่งทำงานกับเครื่องจักร หัวหน้างานหรือผู้เกี่ยวข้องต้องฝึกอบรมให้พนักงานหรือลูกจ้างมีความรู้ มีความเข้าใจ และมีทักษะจนเป็นที่มั่นใจว่าเขาจะทำงานด้วยความปลอดภัย 

วัตถุประสงค์หลักสูตร

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ วิธีการขับขี่รถยก อย่างถูกวิธีและปลอดภัย
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบถึงเทคนิค วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษารถยกเบื้องต้นก่อนการใช้งาน
  3. เพื่อเพิ่มทักษะในการขับขี่และเสริมสร้างประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน
  4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย สู่เส้นทางการทำงานแบบมืออาชีพ                                                          
  5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 วัตถุประสงค์รายวิชา

    1. นายจ้างหรือผู้ควบคุมงานสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ.2552
    1. ผู้เข้าอบรมเข้าใจโครงสร้าง ส่วนประกอบของรถยก ปุ่มควบคุมต่างๆ และรู้จักวิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาก่อนการใช้รถยกประจำวัน
    1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถยกและสามารถบอกวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ SMOHS 5
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายประเภทของรถยก ความหมายของโค๊ดรถยก สามารถคิดคำนวณน้ำหนัก  รู้วิธีและเข้าใจวิธีขับรถยกให้ปลอดภัย    

แนวทางการฝึกอบรม     

  1. กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา
  2. ภาคปฏิบัติ  สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษาเบื้องต้นและการทดสอบทักษะการขับขี่รายบุคคล

 การประเมินผลหลักสูตร

1.แบบทดสอบ Pre-Testและ Post Test

2. ทดสอบภาคปฏิบัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

1.ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยรถยก (Fork Lift)หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

2.ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานในการขับขี่รถยก (Fork Lift) หรือเคยขับขี่รถยกมาก่อน

3. กรณีที่ไม่เคยขับรถยกมาก่อนต้องมีพื้นฐานการขับรถยนต์หรือมีใบขับขี่รถยนต์

 ระยะเวลาในการฝึกอบรม      1  วัน (6 ชั่วโมง) 

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.15 น. กิจกรรมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถยกและข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยก แนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถยก  องค์ประกอบของรถยก  การตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา
10.15-12.00 น. วีดีทัศน์ การขับขี่รถยก  ประเภทของรถยก โค๊ด/ความหมายเกี่ยวกับรถยก วิธีคิดคำนวณน้ำหนัก Load center  จาก Name Plate  วิธีปฏิบัติการขับรถยกอย่างวิธีที่ปลอดภัย ทดสอบ Pre-Test
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-16.30 น.

 

สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา  ทดสอบภาคปฏิบัติ

สรุปผลการฝึกอบรม/ข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย

                                                     

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

หลักสูตร: ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ

ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

SMOHS 20

1. หลักการและเหตุผล โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการรอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น 2.2 เพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 3.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 4.  กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 5. กำหนดการและหัวข้ออบรม          ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น  ระยะเวลา 24  ชั่วโมง  ( ทฤษฎี 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ  9 ชั่วโมง )      

วันแรกของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 – 17.00 น. 

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552                         
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย                                    
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น                                                         
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก                                                                                                
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น                                                         
  • ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น
  • ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
  • ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น

วันที่สองของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 -17.00 น.               

  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น                                                                          
  • ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
  • การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
  • การอ่านค่าตารางพิกัดยก
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
  • วิธีผูกมัด และการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา                                                     

วันที่สามของการฝึกอบรม ภาคปฏิบัติ  08.00 -18.00 น.   

  • การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                      
  • การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                     
  • การทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก   

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

หลักสูตร: ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

SMOHS 21

1. หลักการและเหตุผล

โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการรอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

2.2 เพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552

3.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

4.  กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

5. กำหนดการและหัวข้ออบรม     

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่นระยะเวลา 18 ชั่วโมง(ทฤษฎี 9 ชั่วโมง  ปฏิบัติ  9 ชั่วโมง )


  •  

วันแรกของการฝึกอบรม

ภาคทฤษฎี  08.00-18.00 น.              

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552                         
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย                                    
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น                                                         
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก                                                                                                
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น                                                         
  • ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น                              
  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น                                                                          
  • ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
  • การใช้สัญญาณมือ
  • วิธีผูกมัด และการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก                                                                                                     

วันที่สองของการฝึกอบรม

ภาคปฏิบัติ 08.00-18.00 น.    

  • การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                      
  • การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                     
  • การทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก   

                                                                             

                                                                             

Lockout Tagout

หลักสูตร : การป้องกันและลดความสูญเสียด้วยระบบ Lockout Tagout

SMOHS 11

1) หลักการและเหตุผล

จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานของสำนักงานประสังคม พบว่าสาเหตุการประสบอันตรายจากการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอุปกรณ์แหล่งจ่ายพลังงานต่างๆก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือถึงขั้นสูญเสียอวัยวะเป็นสถิติการประสบอันตรายอันดับต้นๆติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี เพื่อเป็นการป้องกันและลดความสูญเสียดังกล่าวผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจหลักการควบคุมและป้องกันอันตรายในขณะซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 (ข้อ 4.) (ข้อ 57.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2554 (ข้อ 16.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 หมวด 3 งานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัยส่วนที่ 1 งานไฟฟ้า(ข้อ 23.) (ข้อ 57.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานในที่อับอากาศ  พ.ศ. 2547 (ข้อ 11.)

มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง OSHA  HSE EU-OSHA

2) วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและตามข้อกำหนด มาตรฐานด้านความปลอดภัย

2.2  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ถึงอันตรายอันเกิดจากพลังงานต่างๆในขณะทำการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์

2.3 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจหลักการควบคุมและป้องกันอันตรายในขณะซ่อมบำรุงเครื่องจักร

2.4 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อุปกรณ์ ระบบ Lock  Out  Tag out ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ควบคุมงาน พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิต งานก่อสร้าง งานปรับแต่งเครื่องจักร งานตรวจสอบ งานดัดแปลง งานทำความสะอาดและผู้ที่สนใจทั่วไป

4) วิธีการฝึกอบรม

กิจกรรมการบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม สาธิตและการฝึกปฏิบัติ การซักถาม ตอบปัญหา กรณีศึกษา การอภิปราย

5) ระยะเวลาอบรม 1วัน (6ชั่วโมง)

6) วิธีการวัดและประเมินผล

แบบทดสอบ Pre-Test  Post –Test  ระหว่างการฝึกอบรม และสังเกตจากการเข้าร่วมปฏิบัติ

7) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์ตัดแยกพลังงานโดยใช้ระบบ Lock Out และ Tag Out

8) อัตราค่าลงทะเบียน In House Training  

ราคาเริ่มต้น   15,000 บาท

9) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ

 อ.ชเยศ แก้วลิบ

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

10) กำหนดการฝึกอบรม   

เวลา หัวข้อบรรยาย
08.00 – 08.30 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
08.30 – 10.30 น. กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง,ความสำคัญของระบบ Lock Out  Tag Out

พลังงานที่ก่อให้เกิดอันตราย,งานที่ต้องการใช้ระบบ Lock Out Tag Out

10.45 – 12.00 น. ขั้นตอนการควบคุมพลังงาน

ตัวอย่างอุปกรณ์ตัดจ่ายพลังงาน องค์ประกอบที่สำคัญของระบบ     LOTO

กุญแจล็อก

การใช้อุปกรณ์ระบบ Lock Out Tag Out

ขั้นตอนการปลดอุปกรณ์ , ขั้นตอนทำงานร่วมกับผู้รับเหมา,  ขั้นตอนการเปลี่ยนกะ

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.30 น.

ประเภทของอุปกรณ์ระบบ LOTO

กุญแจล็อก,Lock Out Hasps  ชุดล็อกและป้าย ชุดล็อกเบรกเกอร์ ชุดล็อกปุ่มกด ชุดล็อกปลั๊กไฟฟ้า

ถุงล็อกชุดควบคุมรอกไฟฟ้า  ชุดล็อกอเนกประสงค์แบบสายเคเบิ้ล ชุดล็อกเกตวาล์ว

ชุดล็อกหัวต่อระบบนิวเมติก

อุปกรณ์ช่วยล็อกแบบอื่นๆ ตัวอย่างรูปแบบป้าย

14.45 – 16.30 น. สรุปขั้นตอนทำ LOTO

สรุปขั้นตอนล็อกและการปิดป้าย

สรุปขั้นตอนการปลดล็อก

กิจกรรมกลุ่ม

แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

หมายเหตุ *** พัก/Break   ช่วงเช้าเวลา 10.30 -10.45 น.   ช่วงบ่าย 14.30-14.45 น.

พักกลางวัน  เวลา 12.00-12.00 น.

37,500 บาท ความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงาน

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท