เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

หลักสูตร: เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

SMOHS 5

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

                ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

                การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

                กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ข้อ 36 พนักงานขับรถยกต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนด

หลักการและเหตุผล

               ในยุคที่มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ (Quality) ต้นทุน/ราคา (Cost & Price) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Delivery on Time) รถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ นับว่าเป็นเครื่องจักรกลที่มีบทบาทมาก สถานประกอบกิจการได้นำเข้ามาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของกันมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรหรือผู้ที่รับผิดชอบในการขับขี่รถยก(Fork Lift) ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) ดังนั้นก่อนที่ผู้ควบคุมงานจะมอบหมายหน้าที่ให้ใครคนใดคนหนึ่งทำงานกับเครื่องจักร หัวหน้างานหรือผู้เกี่ยวข้องต้องฝึกอบรมให้พนักงานหรือลูกจ้างมีความรู้ มีความเข้าใจ และมีทักษะจนเป็นที่มั่นใจว่าเขาจะทำงานด้วยความปลอดภัย 

วัตถุประสงค์หลักสูตร

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ วิธีการขับขี่รถยก อย่างถูกวิธีและปลอดภัย
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบถึงเทคนิค วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษารถยกเบื้องต้นก่อนการใช้งาน
  3. เพื่อเพิ่มทักษะในการขับขี่และเสริมสร้างประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน
  4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย สู่เส้นทางการทำงานแบบมืออาชีพ                                                          
  5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 วัตถุประสงค์รายวิชา

    1. นายจ้างหรือผู้ควบคุมงานสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ.2552
    1. ผู้เข้าอบรมเข้าใจโครงสร้าง ส่วนประกอบของรถยก ปุ่มควบคุมต่างๆ และรู้จักวิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาก่อนการใช้รถยกประจำวัน
    1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถยกและสามารถบอกวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ SMOHS 5
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายประเภทของรถยก ความหมายของโค๊ดรถยก สามารถคิดคำนวณน้ำหนัก  รู้วิธีและเข้าใจวิธีขับรถยกให้ปลอดภัย    

แนวทางการฝึกอบรม     

  1. กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา
  2. ภาคปฏิบัติ  สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษาเบื้องต้นและการทดสอบทักษะการขับขี่รายบุคคล

 การประเมินผลหลักสูตร

1.แบบทดสอบ Pre-Testและ Post Test

2. ทดสอบภาคปฏิบัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

1.ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยรถยก (Fork Lift)หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

2.ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานในการขับขี่รถยก (Fork Lift) หรือเคยขับขี่รถยกมาก่อน

3. กรณีที่ไม่เคยขับรถยกมาก่อนต้องมีพื้นฐานการขับรถยนต์หรือมีใบขับขี่รถยนต์

 ระยะเวลาในการฝึกอบรม      1  วัน (6 ชั่วโมง) 

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.15 น. กิจกรรมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถยกและข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยก แนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถยก  องค์ประกอบของรถยก  การตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา
10.15-12.00 น. วีดีทัศน์ การขับขี่รถยก  ประเภทของรถยก โค๊ด/ความหมายเกี่ยวกับรถยก วิธีคิดคำนวณน้ำหนัก Load center  จาก Name Plate  วิธีปฏิบัติการขับรถยกอย่างวิธีที่ปลอดภัย ทดสอบ Pre-Test
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-16.30 น.

 

สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา  ทดสอบภาคปฏิบัติ

สรุปผลการฝึกอบรม/ข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย