ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่

หลักสูตร : ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไป

 และลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย  พ.ศ. 2554

SMOHS 13

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานไดอย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาธุรกิจ  การพัฒนาองค์กร  การพัฒนาการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อสู่ความมั่งคั่ง ความก้าวหน้า การเจริญเติบโตแบบมั่นคงและยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศและการขับเคลื่อน แบบประชารัฐ โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน” หรือที่เราเรียกว่าโมเดลประเทศไทย 4.0
การฝึกอบรมลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ให้มีความรู้ (Knowledge) มีความเข้าใจ(Understand) เกิดทักษะ (Skill) และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ(Attitude) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Behavior)ที่ซ่อนอยู่หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบ Tacit Knowledge ให้เปลี่ยนเป็น ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ตนได้สัมผัส ได้รับรู้ ได้พบ ได้เห็น หรือได้รับมอบหมายงานจากหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา   ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  ปัจจุบันส่วนหนึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานพบว่า ลูกจ้างหรือพนักงานไม่เข้าใจคำสั่ง หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงในกระบวนการทำงานจึงก่อให้เกิดความบกพร่องทางด้านกระบวนการคิด และส่งผลกระทบนานัปการกับองค์กร เช่น เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต  ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า เกิดความล่าช้าในการทำงาน ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ทันตามเวลา พนักงานเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน หรือเกิดการรอคอยทำให้สูญเสียเวลา เสียโอกาส  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทั้งลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป เพื่อให้เกิด KUSA  ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) เพิ่ม/ เติมเต็มศักยภาพในการทำงานตาม บทบาทหน้าที่  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับลูกจ้าง     บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด   สามารถที่จะให้คำแนะนำเรื่องดังกล่าวกับสถานประกอบกิจการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติ

วัตถุประสงค์รายวิชา

  1. สร้างความตระหนักให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เห็นถึงความสำคัญกับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเพื่อลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับ คน เครื่องจักร ทรัพย์สินต่างๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้และเข้าใจกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย สามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำองค์ความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางปฏิบัติ

แนวทางการฝึกอบรม

1.กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

ลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป ผู้ควบคุมงานหรือผู้ที่สนใจ

ระยะเวลาในการฝึกอบรม  1  วัน (6 ชั่วโมง)

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.30 น. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
10.35-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-14.30 น. (ต่อ) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในกาiทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.00 น. ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
16.00-16.15 น. ทำแบบทดสอบ Post Test
16.15-16.00 น. กิจกรรมถาม -ตอบ