การทำงานในที่อับอากาศ

ที่อับอากาศ

             อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ   ส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิต  คือ  1.การขาดอากาศหายใจ 2. การระเบิด 3. การสูดสารพิษ  ดังนั้นลูกจ้างที่เข้าทำงานในที่อับอากาศ  ควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการทำงานในที่อับอากาศ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

             ที่อับอากาศ หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย   เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ซึ่งอันตรายในที่อับอากาศ    คือ บรรยากาศอันตราย  เรามาดูความหมายของบรรยากาศอันตราย ตามนิยามของกฏหมายครับ 

บรรยากาศอันตราย หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

2. มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากันหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีของแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

หลักการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

1.ตระหนัก  และประเมินถึงอันตรายในที่อับอากาศ  ซึ่งในที่นี่้ คือ บรรยากาศอันตราย รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจทำให้ลูกจ้างเสียชีวิตได้

2. ควบคุมอันตราย  ดังนี้

  • การติดป้าย สถานที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า  รวมถึงป้ายห้าม  ป้ายเตือน ต่างๆ
  • ใบอนุญาตทำงาน (work permit)
  • การระบายอากาศ
  • การตรวจวัดอากาศ
  • การเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตขณะทำงาน  เช่น  รอก  เชือก  ไตรพอด  SCBA
  • แผนฉุกเฉิน  ทีมกู้ภัย

หากท่านสนใจอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สามารถติดต่อได้ที่ อ.ชเยศ (อ.ป๊อบ) 086-757-4837 , 081-5888-972